ภาพสัญลักษณ์ของไทย

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย

ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ แสดงความเป็นเอกราชของชาติ ไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร เป็นแหล่งรวมใจของคนในชาติให้เป็นจุดเดียวกันสร้างความรู้สึก สำนึก ในความเป็นพี่น้อง สร้างความภูมิใจในศักดิ์ศรีสิทธิเสรีภาพระหว่างคนในชาติ และเพื่อปลุกใจให้เกิดความรักชาติ
ความคิดเรื่องเพลงประจำชาติ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โดยได้รับ อิทธิพลตะวันตก ซึ่งมีเพลง ประจำชาติมาก่อน โดยเฉพาะอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ โดย นายทหารอังกฤษ ๒ คน ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ ในวังหลวงและวังหน้าในปลาย รัชกาลที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ชื่อร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นายนี้ ได้ใช้เพลง กอดเสฟเดอะควีน (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร และอังกฤษได้ใช้เพลงกอดเสฟเดอะควีนนี้ เป็นเพลง ประจำชาติ
ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษหมด ดังนั้นเพลงกอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔ เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ"
พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่โดยใช้ เนื้อ เพลงกอดเสฟเดอะควีนเดิม และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า "จอมราชจงเจริญ"นับเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงค โปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาติิที่มีความเป็นไทยมาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบันหรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็นสากลขึ้น โดย เฮวุดเซน(Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑
สำหรับเพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี(ฉบับปัจจุบัน)ประพันธ์ โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้(Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ ของสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๑-๒๔๗๕
เพลงชาติไทยฉบับที่สี่ คือ เพลงชาติมหาชัย ใช้เป็นเพลงชาติ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง การปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้น ประพันธ์โดย เจ้า พระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้อง และบรรเลงปลุกเร้าใจ ประชาชนก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคี ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง
เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ผู้ประพันธ์ทำนองมีคำร้องประ พันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๗
เพลงชาติฉบับที่หก คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง "ราชการ" ฉบับแรก
เพลงชาติฉบับปัจจุบัน คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เปลี่ยนคำร้องประพันธ์โดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ใช้เป็นเพลงชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ กระทั่งปัจจุบัน ครั้งนั้นทางรัฐบาลได้ประกาศประกวด เพลงชาติขึ้นใหม่ ในเดือน กันยายน ผลประกวดปรากฏ ผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวง สารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่ง ในนามของ กองทัพบก
รัฐบาล ได้ประกาศใช้เพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒

ตำนานเพลงชาติไทย
กว่าจะเป็นเพลงชาติไทย
เพลงชาติไทยเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ แสดงความเป็นเอกราชของชาติ เป็นแหล่งรวมใจของคนในชาติให้เป็นจุดเดียวกัน สร้างความภูมิใจในศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพระหว่างคนในชาติ และเพื่อปลุกใจให้เกิดความรักชาติ กว่าจะมาเป็นเพลงชาติในปัจจุบันนั้นได้รับการประพันธ์ ออกมามากมายโดยมีเนื้อร้องและทำนองที่แตกต่างกันไป ผมจึงได้รวบรวมประวัติแบบย่อมาได้ดังนี้ครับ

พระยาศรีสุนทรโวหาร ในสมัยปลายรัชกาลที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ได้มีนายทหารอังกฤษ ๒ คน ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ในวังหลวงและวังหน้า คือ ร้อยเอก อิมเปย์ (Impey) และร้อยเอก น๊อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นายนี้ ได้ใช้เพลง “ ก๊อดเซฟเดอะควีน” (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร และประเทศอังกฤษเองก็ได้ใช้เพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน” นี้เป็นเพลงประจำชาติ การฝึกทหารของไทยสมัยนั้นใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ ดังนั้นเพลง “ ก๊อดเซฟเดอะควีน” จึงถูกใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ และใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔ เรียกกันว่า “เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ” ...ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จึงได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่ โดยใช้ทำนองเพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน”เดิม แต่ตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า “จอมราชจงเจริญ” นับได้ว่าเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม
เพลง "จอมราชจงเจริญ" แต่งโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ทำนอง ก๊อดเซฟเดอะควีน “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ ซึ่งในขณะนั้นสิงคโปร์ยังคงเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ กองทหารดุริยางค์สิงคโปร์จึงบรรเลงเพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน” เพื่อถวายความเคารพ เมื่อทรงเสด็จกลับถึงพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็นจะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองเพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติ จึงได้โปรดเกล้าให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษาหาเพลงชาติที่มีความเป็นสยามประเทศ มาใช้แทนเพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน” คณะครูดนตรีไทยได้เลือก “เพลงทรงพระสุบัน”หรือเรียกอีกอย่างว่า “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ให้มีความเป็นสากลขึ้นโดยนาย เฮวุดเซน (Heutsen)นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑ สำหรับเพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือ เพลง “สรรเสริญพระบารมี” (ฉบับปัจจุบัน) ประพันธ์โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๗๕

ขุนวิจิตรมาตรา เพลงชาติไทยฉบับที่สี่ คือ เพลง “ชาติมหาชัย” ใช้เป็นเพลงชาติในระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้นประพันธ์โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้องและบรรเลงปลุกเร้าใจประชาชน ก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคีในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ต่อมาจึงดำริจะให้มีเพลงชาติแบบสากล จึงได้มีการมอบหมายให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) แต่งทำนองเพลงชาติฉบับแรกขึ้น โดยมีขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) แต่งคำร้อง

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เพลง "ชาติมหาชัย" คำร้อง เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ทำนอง เพลงมหาชัย “สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่ ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดิน ฟ้า”
พระเจนดุริยางค์ เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ผู้ประพันธ์ทำนองมีคำร้องประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๗ ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่น-นราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน มีกรรมการท่านอื่นๆดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์, พระเจนดุริยางค์, หลวงชำนาญนิติเกษตร,จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะผลการตัดสินปรากฏว่า เพลงที่ได้รับคัดเลือกคือฉบับที่ประพันธ์โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล

สำหรับเพลงชาติแบบไทยฉบับนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่าเพลงชาติ “แบบไทย” นั้น ท่านผู้แต่งได้ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงหน้าพาทย์สำคัญของไทยที่มีชื่อว่าเพลง “ตระนิมิตร” ให้สามารถบรรเลงเป็นทางสากลได้ ซึ่งเพลง “ตระนิมิตร”นี้เป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงครู นักดนตรีจะใช้บรรเลงในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น งานไหว้ครู บรรเลงเป็นการอัญเชิญครูบาอาจารย์เทวดาทั้งหลายมาประชุมกันเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังนั้นจึงมีความหมายอันควรแก่การเคารพนับถือ เป็นสิริมงคลเหมาะสมที่จะใช้เป็นเพลงชาติไทยได้ เพลงชาติฉบับนี้ได้ใช้เป็นเพลงบรรเลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการอย่างเป็นทางการอยู่ระยะหนึ่ง ส่วนเพลงชาติในแบบสากลฉบับของ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) นั้นก็ยังคงนำมาใช้บรรเลงอยู่ด้วยในหลายๆโอกาสเช่นกัน จึงอาจจะกล่าวได้ว่าในยุคนั้นชาติไทยหรือประเทศสยาม ณ เวลานั้นของเรามีเพลงชาติไทยถึง ๒ แบบ ๒ ทำนอง ต่อมาภายหลังคณะกรรมการชุดเดียวกันนี้ได้มีการพิจารณาว่าให้ใช้เพลงชาติเพียงเพลงเดียวคือให้ยกเลิกเพลงชาติ “แบบไทย”และเลือกเพลงชาติตามแบบ “สากล” ให้คงไว้ใช้ต่อไป

เมื่อสรุปทำนองหลักของเพลงชาติไทยได้แล้ว ทางคณะกรรมการฯจึงได้จัดให้มีการประกวดบทร้องขึ้นใหม่ ซึ่งคณะกรรมการฯได้พิจารณาให้รางวัลแก่บทร้อง ๒ ฉบับ คือบทร้องของ นายฉันท์ ขำวิไล และบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา เพลงชาติฉบับที่หก คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉันท์ ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง “ราชการ” ฉบับแรก และในปี พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “ สยาม” มาเป็น “ประเทศไทย” ทำให้เกิดการแก้ไขเนื้อร้องใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยประกาศให้ยื่นประกวดเนื้อเพลงที่แต่งให้เข้ากับทำนองเพลงชาติที่มีอยู่เดิม มีรางวัลให้ผู้ชนะเป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท การประกวดครั้งนี้ถือเป็นเนื้อร้องเพลงชาติที่แน่นอนสืบไปโดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยตัดสินในชั้นสุดท้าย สำหรับเพลงชาติฉบับนี้ เนื่องจากมีความยาวมาก ช่วงระยะหนึ่งได้ตัดตอนแบ่งการร้องออกเป็นช่วงเช้าและช่วงเย็น ช่วงละ ๒ บท พอมาตอนหลังจึงตัดตอนเหลือเฉพาะเพลงบรรเลงเท่านั้น
เพลงชาติไทย ฉบับพิสดาร คำร้อง สง่า กาญจนาคพันธุ์ และฉันท์ ขำวิไล ทำนอง พระเจนดุริยางค์ “แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา รวมรักษาสามัคคีทวีไทย บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีวิตร่วมรวมรุกไล่ เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยโบราณรอดตลอดมา อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้ เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา ถึงแม้ไทย ไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่า จะขัดสนหมดคนดี เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้ ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสรเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมันรักชาติไม่ขาดสาย มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย”

หลวงสารานุประพันธ์ ในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้นเอง ผลปรากฏว่าผู้ชนะได้แก่เนื้อร้องที่ประพันธ์โดย นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งเข้าประกวดในนามของกองทัพบก คณะกรรมการได้คัดเลือกบทเนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์เสนอให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัย ที่ประชุมปรึกษาพิจารณาแล้วลงมติรับบทเพลงนั้น โดยแก้ไขไปบ้างตามความเหมาะสม รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้เป็นเพลงชาติไทย


ฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันจนถึงทุกวันนี้...
เพลงชาติไทยในปัจจุบัน ทำนอง : พระเจนดุริยางค์ คำร้อง : นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัยชโย"



สัญลักษณ์ประจำชาติไทยสัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ..3 สิ่ง

นายยงยุทธ ติยะไพรัช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี .แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 2 ตุลาคม 2544 ว่า คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ..3 สิ่ง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี(นายปองพล อดิเรกสาร) ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ซึ่งจะเป็นการ ช่วยประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย ดังนี้ 1. สัตว์ประจำชาติไทย คือ "ช้างไทย" Chang Thai (Elephant หรือ Elephas Maximas) 2. ดอกไม้ประจำชาติ คือ "ดอกราชพฤกษ์" (คูน) Ratchapruek (Cassiafistula Linn.X 3. สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ "ศาลาไทย" Sala Thai (Pavilion) ทั้งนี้ .เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ ไทย (Nation Identity) และการส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ส่งเสริม ภาพลักษณ์ประเทศไทยให้มีผลระยะยาว .....ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลแล้ว จึงกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย 3 สิ่งดังกล่าว ตามที่กระทรวงต่างประเทศเสนอสำหรับภาพลักษณ์สัตว์ประจำชาติ "ช้างไทย" .....ทางกรมศิลปากรได้ออกแบบ..... และคณะกรรมการ เอกลักษณ์ของชาติ ได้พิจารณาเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว. และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัว และจะได้เห็นความหลากหลาย ..ทางคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติจะจัดให้มีการประกวดภาพ 3 สิ่งสร้างภาพลักษณ์ "ดอกราชพฤกษ์" ดอกไม้ประจำชาติและสถาปัตยกรรมประจะชาติ ......จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการ ประกวดภาพเพื่อให้ประชาชนได้ทีส่วนร่วมในการคัดเลือกรูปแบบสัญลักษณ์ประจำชาติต่อไป ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 ก.พ. 2548 รับทราบเรื่องการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอมา โดยกำหนดให้สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์ หรือดอกคูน สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ ศาลาไทย ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาการออกแบบภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ทั้ง 3 สิ่ง มาตั้งแต่ปลายปี 2544 โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบภาพช้างไทย ส่วนภาพดอกราชพฤกษ์และภาพศาลาไทยได้จากการประกวดการออบแบบ แต่มีการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขภาพหลายครั้ง และคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบภาพเอกลักษณ์ประจำชาติไทยทั้ง 3 สิ่ง ในการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น