ภาพสัญลักษณ์ของไทย

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย บัญญัติ สุขศรีงาม
ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์มาเป็นเวลานาน จึงเป็นแหล่งของอารยธรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจของคนทั่วไป สามารถนำความดีงามในเรื่องนี้มาใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตามถ้าหากมีใครถามว่าประเทศไทยมีอะไรเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ ก็จะได้คำตอบที่แตกต่างกันไป ด้วยเหตุนี้กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย (nation identity) และการส่งเสริมเอกลักษณ์ประจำชาติไทยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยให้มีผลในระยะยาว รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาจนได้ข้อสรุปว่าสัญลักษณ์ประจำชาติไทยประกอบด้วย 3 ประเภทได้แก่ ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek : Cassia fistula Linn) สัตว์ประจำชาติคือ ช้างไทย (Chang Thai : Elephant : Elephas maximus) และสถาปัตยกรรมประจำชาติคือ ศาลาไทย (Sala Thai : Pavilion) โดยมีเหตุผลดังนี้ 1. ดอกราชพฤกษ์ การเลือกดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติเป็นผลมาจากการที่กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร ได้มีการประชุม เรื่อง กำหนดต้นไม้และสัตว์ประจำชาติ ครั้งที่ 2/2506 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2506 และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดต้นราชพฤกษ์หรือคูณเป็นต้นไม้ประจำชาติ เนื่องจากเป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันแพร่หลาย สามารถขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย มีอายุยืนนานและทนทาน ลำต้นมีทรวดทรงและพุ่มงาม มีดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น ฝักเป็นสมุนไพรที่มีค่ายิ่งในตำรับแพทย์แผนโบราณและแก่นแข็งใช้ทำเสาเรือนได้ดี เป็นต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทยเพราะเป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ แก่นไม้ราชพฤกษ์เคยใช้ในพิธีสำคัญ ๆ มาก่อน เช่น พิธีลงหลักเมือง ใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำคธาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร 2. ช้างไทย การเลือกช้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติเป็นผลมาจากการประชุมของกรมป่าไม้ เรื่อง กำหนดต้นไม้และสัตว์ประจำชาติ ครั้งที่ 2/2506 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2506 เช่นกัน ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดช้างเผือกเป็นสัตว์ประจำชาติ เพราะช้างเผือกเป็นสัตว์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีของไทยเป็นสัตว์ที่รู้จักกันแพร่หลายและมีอายุยืนนาน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2541 ที่กำหนดให้วันที่ 13 มีนาคมเป็นวันช้างไทย โดยมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 เพื่อเป็นที่ทราบทั่วกัน 3. ศาลาไทย การเลือกศาลาไทยเป็นสถาปัตยกรรมแห่งชาติ เนื่องจากศาลาไทยเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาช่างไทยและมีความสง่างามที่โดดเด่นจากสถาปัตยกรรมของชาติอื่นและเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยตลอดจนส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสชื่นชมศาลาไทย การที่รัฐบาลได้กำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทยดังกล่าวแล้ว เป็นสิ่งที่ชาวไทยทุกคนควรจะได้รับทราบและจะได้ช่วยกันส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติให้แพร่หลายต่อไปครับ

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย
พวกเราคงทราบกันดีแล้วว่า สัตว์ ดอกไม้ และสถาปัตยกรรม ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ คือ "ช้างไทย" หรือ "Chang Thai" (Elephant) ดอกราชพฤกษ์ หรือ Ratchaphruek (Cassia fistula Linn) และ "ศาลาไทย" หรือ "Sala Thai" (Pavilion)
แต่บางท่านอาจยังมีไม่ทราบเหตุผลที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ลงมติเลือก ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ และศาลาไทย เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ
ช้างเผือกเป็นสัตว์ที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีไทยมายาวนาน อีกทั้งช้างไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายในสังคมโลก ดังนั้น เพื่อกระตุ้นสังคมไทยให้ระลึกถึงช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองและคู่ป่า ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันช้างไทย (ภาพช้างเผือกบนพื้นแดง เป็นรูปของธงชาติสยาม ปี พ.ศ.2398-2459)
ส่วนดอกราชพฤกษ์ หรือ คูน เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย มีในทุกภาค ใช้ประโยชน์ได้สารพัด เช่น ฝักเป็นสมุนไพรในตำรับแพทย์แผนโบราณ แก่นแข็งใช้ทำเสาเรือน เป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ แก่นไม้เคยใช้ในพิธีสำคัญ ๆ มาก่อน เช่น พิธีลงหลักเมือง เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนานและทนทาน มีทรวดทรงและพุ่มงาน ดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา
สำหรับศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาช่างไทย มีความสง่างามที่โดดเด่นจากสถาปัตยกรรมชาติอื่น จึงสมควรที่จะรักษาเอกลักษณ์และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสชื่นชมศาลาไทย

เอกลักษณ์ประจำชาติของไทยอย่างหนึ่งที่แสดงถึงความสวยงาม ร่มเย็น คือ ดอกไม้ เดิมไม่มีการบันทึกแน่ชัดว่าเป็นดอกไม้ชนิดใดคือดอกไม้ประจำชาติไทยเพียงแต่ต่อพูดกันต่อๆมาว่า ดอกราชพฤกษ์หรือชัยพฤกษ์ น่าจะเป็นดอกไม้ประจำชาติไทย
คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบและออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ๓ สิ่ง ลงนามโดยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ คือ













ในเบื้องต้น กระทรวงเกษตร กรมป่าไม้ ได้จัดประชุมเรื่อง การกำหนดต้นไม้และสัตว์ประจำชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๐๖ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๖ และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดต้นราชพฤษ์หรือคูณ เป็นต้นไม้ประจำชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมเรื่องการกำหนดเอกลักษณ์ประจำชาติไทยในเรื่องดอกไม้ประจำชาติ และได้ให้เหตุผลในการเลือกดอกราชพฤกษ์ (คูณ) Ratchaphruek (Cassia Fistula Linn.) เป็นดอกไม้ประจำชาติ เพื่อส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติไทย และเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้มีผลระยะยาว ด้วยเหตุผลตามผลสรุปของการศึกษาและรวบรวมข้อมูลของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรว่า

ราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันแพร่หลายสามารถขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย
ราชพฤกษ์ ใช้ประโยชน์ได้มากเช่นฝักเป็นสมุนไพรที่มีค่ายิ่งในตำหรับแพทย์แผนโบราณและแก่นแข็งใช้ทำเสาเรือนได้ดี
ราชพฤกษ์ มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทยเพราะเป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ ก่นไม้ชัยพฤษ์เคยใช้พิธีสำคัญๆ มาก่อนเช่น พิธีลงหลักเมืองใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำคธาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร นอกจากนี้อินทรธนูของข้าราชการพลเรือนก็จำลองจากช่อชัยพฤษ์เป็นเครื่องหมาย
ราชพฤกษ์ มีอายุยืนนานและทนทาน
ราชพฤกษ์ มีทรวดทรงและพุ่มงามมีดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา
คณะกรรมการอำนวยการปลูกต้นไม้แห่งชาติได้มีการเชิญชวนให้มีปลูกต้นราชพฤกษ์ จำนวน ๙๙,๙๙๙ ต้น ทั่วราชอาณาจักรเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทีทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ
เป็นไม้จำพวก Cassia มีชื่อเรียกว่า Cassia Donosa ลำต้น ตอนโคน มีข้อแหลม ๆ ดอก สีชมพูแก่ ออกดอก เมื่อผลิใบอ่อน ดอกไม่ดก ฝักเล็ก ขนาด ฝักคูน สีดำเกลี้ยง ไม่มีขนใบเล็ก บาง ไม่มีขนในประเทศไทยพบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณทั่วประเทศ กระจายพันธุ์ไปในป่าเต็งรังมีมากทางเหนือและอีสาน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ทางอีสานเรียกว่า"ต้นคูน" ราชพฤกษ์เป็นไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบสูง ๕-๑๕ เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลาตรงเปลือกนอกสีเทาอมน้ำตาล สีเทาอมขาวหรือสีนวล เรียบ เกลี้ยงหรือแตกล่อนเป็นสะเก็ดโตๆ บ้าง เปลือกในสีเหลือง เรือนยอดรูปไข่หรือรูปร่ม ค่อนข้างทึบ แตกกิ่งต่ำ แผ่กว้าง ให้ร่มเงาดี เนื้อไม้แปรรูปใช้ทำเสา สากตำข้าว ล้อเกวียน คันไถ เครื่องกลึง ชาวเหนือและชาว อีสานนิยมใช้เปลือก เนื้อไม้ และผลมาทำสีย้อมให้สีเหลือง ใช้ในการย้อมผ้าฝ้ายและผ้าไหม (ข้อมูลจาก หนังสือต้นไม้ยาน่ารู้ ของ ธงชัย เปาอินทร์ )

ที่มา http://www.uniserv.buu.ac.th/forum2/topic.asp?TOPIC_ID=1171