ภาพสัญลักษณ์ของไทย

วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย


รบ.เผยภาพสัญลักษณ์ประจำชาติ

รัฐบาลชู 'ช้างไทย-ดอกคูณ-ศาลาไทย' เป็นสัญลักษณ์ สร้างความภูมิใจในความเป็นไทย
วันนี้(30 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ครั้งที่ 2/2552 ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้จัดพิมพ์โปสเตอร์ภาพสัญลักษณ์ ประจำชาติไทย จำนวน 3 สิ่ง ได้แก่ สัตว์ประจำชาติ คือ “ช้างไทย” ดอกไม้ประจำชาติ คือ “ดอกราชพฤกษ์” (ดอกคูณ) สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ “ศาลาไทย” เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ โดยใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศนอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบรายงานผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสำนักงาน เสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2552 โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ได้กำหนดดำเนินโครงการ/กิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 16 โครงการ/กิจกรรม ประกอบด้วย 1. โครงการจัดพิมพ์ภาพโปสเตอร์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ 2. โครงการจัดทำสารคดีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันสำคัญของพระมหา กษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ 3. โครงการจัดพิมพ์หนังสือ King Bhumibol : Strength of the Land (ครั้งที่ 2) 4. โครงการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2551 5. โครงการจัดทำสมุดบันทึกประจำวันสำหรับนักบริหาร เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์ของประเทศไทย 6. โครงการจัดทำสารคดีเกี่ยวกับเอกลักษณ์ไทย 7. โครงการจัดทำวารสารไทย 8. โครงการคัดเลือกและเผยแพร่ผลงานดีเด่นของชาติ 9. โครงการฝึกอบรมอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ 10. โครงการจัดปฐมนิเทศด้านเอกลักษณ์ของชาติแก่ผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านวิเทศ 11. โครงการคัดเลือกครอบครัว โรงเรียน ชุมชน หรือหมู่บ้านประชาธิปไตยตัวอย่าง 12. โครงการวิจัยหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของชาติ 13. โครงการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. เอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. .... 14. โครงการจัดทำเอกสารและบทความสดุดีบุคคลสำคัญ 15. โครงการส่งเสริมคนดีศรีสังคม 16. โครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ


สัญลักษณ์ประจำชาติไทย
ทราบกันหรือยังว่าประเทศไทยมีสัญลักษณ์ประจำชาติอย่างเป็นทางการแล้ว เป็นรูปช้าง ดอกคูน และศาลาไทย ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติได้นำเสนอสัญลักษณ์ทั้ง 3 นี้แก่คณะรัฐมนตรีแล้ว สาเหตุที่เลือกสัญลักษณ์ทั้ง 3 ประเภทนี้ เพราะ
1. ช้างไทย เป็นสัตว์ประจำชาติ มีอายุยืน เป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ประเพณี และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวไทยมานาน สมัยก่อนมีความหมายเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช้ในการศึกสงคราม ถือเป็นสัตว์คู่บุญบารมีของพระมหากษัตริย์ และครั้งหนึ่งช้างไทยเคยปรากฏอยู่บนธงชาติไทยด้วย
2. ต้นราชพฤกษ์หรือต้นคูน เป็นต้นไม้พื้นเมืองรู้จักกันแพร่หลาย มีทรวดทรงและพุ่มงาม มีดอกเหลืองอร่าม ถือเป็นต้นไม้ประจำชาติที่เรารับรู้กันมานาน แต่ไม่เคยได้รับการกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำชาติอย่างเป็นทางการ
3. ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมประจำชาติสะท้อนภูมิปัญญาของช่างไทย มีความสง่างามที่โดดเด่นจากชาติอื่น รวมทั้งเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้ชื่นชมความงามของศาลาไทย


เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย
คือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทยได้อย่างดีที่สุดเพราะประเทศไทยนั้นได้ชือว่าเป็นประเทศ เอกลักษณ์เป็นของตัวเองชาติหนึ่งของโลก มีอักขระ ตัวอักษรที่เป็นเฉพาะของตัวเอง
พร้อมกับกระแต่งกายแบบฉบับไทย ที่มีรูปแบบลวดลายที่สวยงามอ่อนช้อย อีกทั้งการแต่งกายแบบฉบับไทยในสมัยปัจจุบัน ได้นำเอาไปประยุกต์ในแบบสากลจนเป็นที่โด่งดังไปทั่วในเรื่องความสวยงาม นอกจากความสวยงามที่ไม่เหมือนใครของเครื่องแต่งกายแล้วนั้น ความสวยที่สื่อออกมาจากตัวตนแห่งคนไทย ก็จะเป็น”การไหว้” ที่เป็นเอกลักษณ์ชาติเดียวใรโลกที่ไม่มีใครเหมือน เอกลักษณ์ของไทยนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่การไว้ที่สวยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีสถาปัตยกรรม แบบไทยๆ ที่สามารถเห็นได้ตาม ศาสนสถาน(วัด) โบสถ์วิหาร ปราสาทพระราชวัง และอาคารบ้านทรงไทยอันสวยสดงดงาม เอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่เห็นเดนชัดก็คือการแสดงรำไทย ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างดี เอกลักษณ์ทางดนตรีไทยนั้นก็ไม่เป็นรองชาติใดในโลกเหมือนกัน ซึ่งสามารถขับขาน บรรเลงเสียงที่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ต้องมนต์สะกดของเสียงเพลงเลยทีเดียว เสน่ห์ของดนตรีไทยยังสามารถนำมาผสานรวม ร่วมกับดนตรีสากลเพิ่มความไพเราะไปอีกในรูปแบบหนึ่งอย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว


เอกลักษณ์ไทย@สัญลักษณ์ของความเป็นไทย
“.........เอกลักษณ์ไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยเราจงร่วมใจรักษาไว้ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราชและความสามัคคีของบรรพบุรุษไทย.........”
เอกลักษณ์ : เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย
เอกลักษณ์ของไทยใครรู้บ้าง อย่างให้จางจืดไปของไทยหนอ
ช่วยสืบสานตำนานวงศ์ว่านกอ ช่วยแตกหน่อแบบไทยให้เจริญ
มีภาษาของไทยใช้สื่อสาร เป็นพงศาวดารมานานเนิ่น
พ่อขุนรามคำแหงเก่งเหลือเกิน สร้างตัวเขินอักษรไทยใช้ต่อมา
อีกเสื้อผ้าอาภรณ์อันสวยสด ดูงามงดวิจิตรมิตรหรรษา
เป็นเครื่องทรงมีค่าอันโสภา เรียกกันว่าการแต่งกายของคนไทย
อีกทั้งการเคารพนบน้อมไหว้ เชื่อผู้ใหญ่มีน้ำใจสะอาดใส
กตัญญูกตเวทีและเกรงใจ ลืมไม่ได้คือการกราบซาบซึ้งทรวง
การวางตัวก็ดีที่สุภาพ อย่าให้สาบสูญไปใคร่แหนหวง
คำทักทายสวัสดีมีในดวง- จิตคิดห่วงสมบัติมรดกไทย
ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ อย่าให้ขาดประเพณีวิถีในสากล
สถาปัตยกรรมแบบไทยไทย การแสดงก็วิไลในสากล
มีธงชาติของไทยประจำเมือง อันลือเลื่องกันไปทุกแห่งหน
เพลงชาติไทยร้องได้กันทุกคน ที่ใหญ่ล้นคือพระมหากษัตริย์ไทย
ที่ยกมาทั้งหมดจดจำด้วย ขอให้ช่วยสานต่อกันได้ไหม
หากเราทิ้งของดีบนถิ่นไทย คงสิ้นไปแน่แท้เอกลักษณ์เอย
จากคำประพันธ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่า คนไทยมีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทยอันทรงคุณค่า และน่าภาคภูมิใจในความเป็นไทย เราควรร่วมมือร่วมใจสืบสานให้อยู่คู่กับประเทศไทยต่อไป
หากเราไม่ช่วยกัน แล้วใครจะมาช่วยเรา หรือเราคนไทยจะรอให้ต่างชาติต่างภาษา เข้ามาครอบครองความเป็นไทยของเราที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนไว้หลายชั่วอายุคน หรือเราเป็นคนไทยสายพันธุ์ใหม่ ที่มีจิตใจไม่สาทกสะท้าน ในวัฒนธรรมของตนเองบ้างเลย หรือมั่วแต่ไปคลั่งไคล้กับวัฒนธรรมตะวันตก ที่โหมกระหน่ำมาดั่งสายน้ำที่ไหลเชี่ยวกราดที่ทับถมมาอยู่ตลอดเวลา จนลืมวัฒนธรรมอันดีงามของไทยเราไป
หากเป็นเช่นนี้แล้วละก็คนไทย และประเทศไทยของเรา คงสิ้นเอกลักษณ์ไทย อย่างแน่นอน.........


ที่มา http://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=57772
http://lib.vit.src.ku.ac.th/tip/tip48/texttip/ntip10.asp
http://www.ratburi.info/component/content/article/23-thai/26-2009-07-03-19-56-11.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น