ภาพสัญลักษณ์ของไทย

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนะนำตัว+ปฏิทิน WaSan

ชื่อ นาย วสันต์ ยอดยศ (สันต์)

รหัส 50011321011 ปี3

สาขา บริหารรัฐกิจและกิจการสาธารณะ (PA)

คณะวิทยาลัยการเมืองการปกครอง

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทย

ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย

ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย
เพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ แสดงความเป็นเอกราชของชาติ ไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร เป็นแหล่งรวมใจของคนในชาติให้เป็นจุดเดียวกันสร้างความรู้สึก สำนึก ในความเป็นพี่น้อง สร้างความภูมิใจในศักดิ์ศรีสิทธิเสรีภาพระหว่างคนในชาติ และเพื่อปลุกใจให้เกิดความรักชาติ
ความคิดเรื่องเพลงประจำชาติ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โดยได้รับ อิทธิพลตะวันตก ซึ่งมีเพลง ประจำชาติมาก่อน โดยเฉพาะอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ โดย นายทหารอังกฤษ ๒ คน ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ ในวังหลวงและวังหน้าในปลาย รัชกาลที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ชื่อร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นายนี้ ได้ใช้เพลง กอดเสฟเดอะควีน (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร และอังกฤษได้ใช้เพลงกอดเสฟเดอะควีนนี้ เป็นเพลง ประจำชาติ
ในการฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษหมด ดังนั้นเพลงกอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔ เรียกกันว่า "เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ"
พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่โดยใช้ เนื้อ เพลงกอดเสฟเดอะควีนเดิม และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า "จอมราชจงเจริญ"นับเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม
ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงค โปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาติิที่มีความเป็นไทยมาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบันหรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็นสากลขึ้น โดย เฮวุดเซน(Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑
สำหรับเพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี(ฉบับปัจจุบัน)ประพันธ์ โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้(Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ ของสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๑-๒๔๗๕
เพลงชาติไทยฉบับที่สี่ คือ เพลงชาติมหาชัย ใช้เป็นเพลงชาติ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง การปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้น ประพันธ์โดย เจ้า พระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้อง และบรรเลงปลุกเร้าใจ ประชาชนก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคี ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง
เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ผู้ประพันธ์ทำนองมีคำร้องประ พันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๗
เพลงชาติฉบับที่หก คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง "ราชการ" ฉบับแรก
เพลงชาติฉบับปัจจุบัน คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เปลี่ยนคำร้องประพันธ์โดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ใช้เป็นเพลงชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ กระทั่งปัจจุบัน ครั้งนั้นทางรัฐบาลได้ประกาศประกวด เพลงชาติขึ้นใหม่ ในเดือน กันยายน ผลประกวดปรากฏ ผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวง สารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่ง ในนามของ กองทัพบก
รัฐบาล ได้ประกาศใช้เพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒

ตำนานเพลงชาติไทย
กว่าจะเป็นเพลงชาติไทย
เพลงชาติไทยเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ แสดงความเป็นเอกราชของชาติ เป็นแหล่งรวมใจของคนในชาติให้เป็นจุดเดียวกัน สร้างความภูมิใจในศักดิ์ศรี สิทธิเสรีภาพระหว่างคนในชาติ และเพื่อปลุกใจให้เกิดความรักชาติ กว่าจะมาเป็นเพลงชาติในปัจจุบันนั้นได้รับการประพันธ์ ออกมามากมายโดยมีเนื้อร้องและทำนองที่แตกต่างกันไป ผมจึงได้รวบรวมประวัติแบบย่อมาได้ดังนี้ครับ

พระยาศรีสุนทรโวหาร ในสมัยปลายรัชกาลที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ได้มีนายทหารอังกฤษ ๒ คน ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ในวังหลวงและวังหน้า คือ ร้อยเอก อิมเปย์ (Impey) และร้อยเอก น๊อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นายนี้ ได้ใช้เพลง “ ก๊อดเซฟเดอะควีน” (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร และประเทศอังกฤษเองก็ได้ใช้เพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน” นี้เป็นเพลงประจำชาติ การฝึกทหารของไทยสมัยนั้นใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษ ดังนั้นเพลง “ ก๊อดเซฟเดอะควีน” จึงถูกใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระมหากษัตริย์ และใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔ เรียกกันว่า “เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ” ...ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จึงได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่ โดยใช้ทำนองเพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน”เดิม แต่ตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า “จอมราชจงเจริญ” นับได้ว่าเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม
เพลง "จอมราชจงเจริญ" แต่งโดย พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ทำนอง ก๊อดเซฟเดอะควีน “ความสุขสมบัติทั้งบริวาร เจริญพละ ปฏิภาณผ่องแผ้ว จงยืนพระชน...มาน นับรอบร้อย แฮ มีพระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์ เพี้ยง จันทร”
ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ ซึ่งในขณะนั้นสิงคโปร์ยังคงเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษ กองทหารดุริยางค์สิงคโปร์จึงบรรเลงเพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน” เพื่อถวายความเคารพ เมื่อทรงเสด็จกลับถึงพระนคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็นจะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองเพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติ จึงได้โปรดเกล้าให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษาหาเพลงชาติที่มีความเป็นสยามประเทศ มาใช้แทนเพลง “ก๊อดเซฟเดอะควีน” คณะครูดนตรีไทยได้เลือก “เพลงทรงพระสุบัน”หรือเรียกอีกอย่างว่า “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ ๒) โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ให้มีความเป็นสากลขึ้นโดยนาย เฮวุดเซน (Heutsen)นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑ สำหรับเพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือ เพลง “สรรเสริญพระบารมี” (ฉบับปัจจุบัน) ประพันธ์โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จฯกรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๔๗๕

ขุนวิจิตรมาตรา เพลงชาติไทยฉบับที่สี่ คือ เพลง “ชาติมหาชัย” ใช้เป็นเพลงชาติในระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้นประพันธ์โดยเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้องและบรรเลงปลุกเร้าใจประชาชน ก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคีในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ต่อมาจึงดำริจะให้มีเพลงชาติแบบสากล จึงได้มีการมอบหมายให้พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) แต่งทำนองเพลงชาติฉบับแรกขึ้น โดยมีขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) แต่งคำร้อง

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี เพลง "ชาติมหาชัย" คำร้อง เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ทำนอง เพลงมหาชัย “สยามอยู่คู่ฟ้าอย่าสงสัย เพราะชาติไทยเป็นไทยไปทุกเมื่อ ชาวสยามนำสยามเหมือนนำเรือ ผ่านแก่งเกาะเพราะเพื่อชาติพ้นภัย เราร่วมใจร่วมรักสมัครหนุน วางธรรมนูญสถาปนาพาราใหม่ ยกสยามยิ่งยงธำรงชัย ให้คงไทยตราบสิ้นดิน ฟ้า”
พระเจนดุริยางค์ เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ผู้ประพันธ์ทำนองมีคำร้องประพันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๗ ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ รัฐบาลได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเพลงชาติขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่น-นราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงเป็นประธาน มีกรรมการท่านอื่นๆดังนี้คือ พระเรี่ยมวิรัชพากย์, พระเจนดุริยางค์, หลวงชำนาญนิติเกษตร,จางวางทั่ว พาทยโกศล และนายมนตรี ตราโมท คณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่พิจารณาเกี่ยวกับเพลงชาติโดยเฉพาะผลการตัดสินปรากฏว่า เพลงที่ได้รับคัดเลือกคือฉบับที่ประพันธ์โดย จางวางทั่ว พาทยโกศล

สำหรับเพลงชาติแบบไทยฉบับนี้ ซึ่งต่อมาเรียกว่าเพลงชาติ “แบบไทย” นั้น ท่านผู้แต่งได้ดัดแปลงทำนองมาจากเพลงหน้าพาทย์สำคัญของไทยที่มีชื่อว่าเพลง “ตระนิมิตร” ให้สามารถบรรเลงเป็นทางสากลได้ ซึ่งเพลง “ตระนิมิตร”นี้เป็นเพลงที่ถือว่าเป็นเพลงครู นักดนตรีจะใช้บรรเลงในพิธีสำคัญต่างๆ เช่น งานไหว้ครู บรรเลงเป็นการอัญเชิญครูบาอาจารย์เทวดาทั้งหลายมาประชุมกันเพื่อความเป็นสิริมงคล ดังนั้นจึงมีความหมายอันควรแก่การเคารพนับถือ เป็นสิริมงคลเหมาะสมที่จะใช้เป็นเพลงชาติไทยได้ เพลงชาติฉบับนี้ได้ใช้เป็นเพลงบรรเลงออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงของกรมโฆษณาการอย่างเป็นทางการอยู่ระยะหนึ่ง ส่วนเพลงชาติในแบบสากลฉบับของ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) นั้นก็ยังคงนำมาใช้บรรเลงอยู่ด้วยในหลายๆโอกาสเช่นกัน จึงอาจจะกล่าวได้ว่าในยุคนั้นชาติไทยหรือประเทศสยาม ณ เวลานั้นของเรามีเพลงชาติไทยถึง ๒ แบบ ๒ ทำนอง ต่อมาภายหลังคณะกรรมการชุดเดียวกันนี้ได้มีการพิจารณาว่าให้ใช้เพลงชาติเพียงเพลงเดียวคือให้ยกเลิกเพลงชาติ “แบบไทย”และเลือกเพลงชาติตามแบบ “สากล” ให้คงไว้ใช้ต่อไป

เมื่อสรุปทำนองหลักของเพลงชาติไทยได้แล้ว ทางคณะกรรมการฯจึงได้จัดให้มีการประกวดบทร้องขึ้นใหม่ ซึ่งคณะกรรมการฯได้พิจารณาให้รางวัลแก่บทร้อง ๒ ฉบับ คือบทร้องของ นายฉันท์ ขำวิไล และบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา เพลงชาติฉบับที่หก คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉันท์ ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง “ราชการ” ฉบับแรก และในปี พุทธศักราช ๒๔๘๒ รัฐบาลเปลี่ยนชื่อประเทศจาก “ สยาม” มาเป็น “ประเทศไทย” ทำให้เกิดการแก้ไขเนื้อร้องใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยประกาศให้ยื่นประกวดเนื้อเพลงที่แต่งให้เข้ากับทำนองเพลงชาติที่มีอยู่เดิม มีรางวัลให้ผู้ชนะเป็นเงิน ๑,๐๐๐ บาท การประกวดครั้งนี้ถือเป็นเนื้อร้องเพลงชาติที่แน่นอนสืบไปโดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้วินิจฉัยตัดสินในชั้นสุดท้าย สำหรับเพลงชาติฉบับนี้ เนื่องจากมีความยาวมาก ช่วงระยะหนึ่งได้ตัดตอนแบ่งการร้องออกเป็นช่วงเช้าและช่วงเย็น ช่วงละ ๒ บท พอมาตอนหลังจึงตัดตอนเหลือเฉพาะเพลงบรรเลงเท่านั้น
เพลงชาติไทย ฉบับพิสดาร คำร้อง สง่า กาญจนาคพันธุ์ และฉันท์ ขำวิไล ทำนอง พระเจนดุริยางค์ “แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา รวมรักษาสามัคคีทวีไทย บางสมัยศัตรูจู่โจมตี ไทยพลีชีวิตร่วมรวมรุกไล่ เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไผท สยามสมัยโบราณรอดตลอดมา อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า เอกราชคือเจดีย์ที่เราบูชา เราจะสามัคคีร่วมมีใจ รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้ เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินไทย สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา ถึงแม้ไทย ไทยด้อยจนย่อยยับ ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า ควรแก่นามงามสุดอยุธยา นั้นมิใช่ว่า จะขัดสนหมดคนดี เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้ ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสรเสรี เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น ว่าไทยมันรักชาติไม่ขาดสาย มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงชาย สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย”

หลวงสารานุประพันธ์ ในเดือนกันยายนปีเดียวกันนั้นเอง ผลปรากฏว่าผู้ชนะได้แก่เนื้อร้องที่ประพันธ์โดย นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่งเข้าประกวดในนามของกองทัพบก คณะกรรมการได้คัดเลือกบทเนื้อร้องของหลวงสารานุประพันธ์เสนอให้คณะรัฐมนตรีวินิจฉัย ที่ประชุมปรึกษาพิจารณาแล้วลงมติรับบทเพลงนั้น โดยแก้ไขไปบ้างตามความเหมาะสม รัฐบาลจึงได้ประกาศใช้เป็นเพลงชาติไทย


ฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ ดังที่เราได้ยินได้ฟังกันจนถึงทุกวันนี้...
เพลงชาติไทยในปัจจุบัน ทำนอง : พระเจนดุริยางค์ คำร้อง : นายพันเอกหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) “ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัยชโย"



สัญลักษณ์ประจำชาติไทยสัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ..3 สิ่ง

นายยงยุทธ ติยะไพรัช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี .แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 2 ตุลาคม 2544 ว่า คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ..3 สิ่ง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี(นายปองพล อดิเรกสาร) ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ซึ่งจะเป็นการ ช่วยประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย ดังนี้ 1. สัตว์ประจำชาติไทย คือ "ช้างไทย" Chang Thai (Elephant หรือ Elephas Maximas) 2. ดอกไม้ประจำชาติ คือ "ดอกราชพฤกษ์" (คูน) Ratchapruek (Cassiafistula Linn.X 3. สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ "ศาลาไทย" Sala Thai (Pavilion) ทั้งนี้ .เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ ไทย (Nation Identity) และการส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ส่งเสริม ภาพลักษณ์ประเทศไทยให้มีผลระยะยาว .....ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลแล้ว จึงกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย 3 สิ่งดังกล่าว ตามที่กระทรวงต่างประเทศเสนอสำหรับภาพลักษณ์สัตว์ประจำชาติ "ช้างไทย" .....ทางกรมศิลปากรได้ออกแบบ..... และคณะกรรมการ เอกลักษณ์ของชาติ ได้พิจารณาเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว. และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัว และจะได้เห็นความหลากหลาย ..ทางคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติจะจัดให้มีการประกวดภาพ 3 สิ่งสร้างภาพลักษณ์ "ดอกราชพฤกษ์" ดอกไม้ประจำชาติและสถาปัตยกรรมประจะชาติ ......จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการ ประกวดภาพเพื่อให้ประชาชนได้ทีส่วนร่วมในการคัดเลือกรูปแบบสัญลักษณ์ประจำชาติต่อไป ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 ก.พ. 2548 รับทราบเรื่องการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอมา โดยกำหนดให้สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย ดอกไม้ประจำชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์ หรือดอกคูน สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ ศาลาไทย ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติพิจารณาการออกแบบภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ทั้ง 3 สิ่ง มาตั้งแต่ปลายปี 2544 โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบภาพช้างไทย ส่วนภาพดอกราชพฤกษ์และภาพศาลาไทยได้จากการประกวดการออบแบบ แต่มีการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขภาพหลายครั้ง และคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบภาพเอกลักษณ์ประจำชาติไทยทั้ง 3 สิ่ง ในการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ


สัญลักษณ์ของประเทศไทย

สัญลักษณ์ของประเทศไทย
สัญลักษณ์ประจำประเทศไทย คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งมี ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มอบให้ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ พิจารณากำหนด สัญลักษณ์ประจำชาติไทย ซึ่งคณะกรรมการได้ประชุมปรึกษากันหลายครั้ง มีมติให้สัญลักษณ์ประจำชาติไทยประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ๓ ประการ ๑. ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกราชพฤกษ์ หรือ คูน (Ratchaphruek ชื่อวงศ์ Cassia Fistula Linn.) ลักษณะดอกราชพฤกษ์ มีสีเหลืองออกดอกเป็นช่อห้อยเป็นพวงระย้า ดอกที่ออกจะมีทั้งดอกตูม ดอกบาน ส่วนเกสรจะร่วงบ้างในบางดอกตามกาลเวลา ซึ่งธรรมชาติของดอกราชพฤกษ์จะบานไม่พร้อมกัน เหตุผล ต้นราชพฤกษ์ หรือคูน เป็นต้นไม้พื้นเมืองรู้จักกันแพร่หลาย สามารถปลูกขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย มีประโยชน์เป็นสมุนไพรมีค่ายิ่งในตำรับแพทย์แผนโบราณ และแก่นแข็งใช้ทำเสาเรือนได้ดี ต้นคูน มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทย เพราะเป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ มีอายุยืนนาน มีทรวดทรวงและพุ่มงาม แก่นไม้ราชพฤกษ์ เคยใช้ในพิธีสำคัญๆมาก่อน เช่น พิธีลงหลักเมือง ใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำยอดคทาจอมพล และยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ๒. สถาปัตยกรรมประจำชาติ : ศาลาไทย (Salta Thai (Pavlion)) ลักษณะ เป็นศาลาไทยประเภทเรือนเครื่องสับ อยู่ภายในวงกลม ตั้งอยู่บนพื้นสีเขียว แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นประเทศเกษตรกรรมของชาติไทย ฉากด้านหลังเป็นสีฟ้าแสดงถึงความสดใสของประเทศ อันเป็นประเทศในเขตร้อน สีของท้องฟ้าที่สดใสจึงแสดงถึงความสดชื่นเบิกบาน เหตุผล : ศาลาไทยเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาช่างไทย มีความสง่างามที่โดดเด่นกว่าสถาปัตยกรรมของชาติอื่น ๓. สัตว์ประจำชาติ : ช้างไทย Chang Thai (Elephant หรือ Elephas maximus) ลักษณะ : เป็นช้างเผือก ภายในวงกลมพื้นสีแดง เหตุผล : "ช้างไทย" เป็นสัตว์ที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีของไทยมาช้านาน เป็นที่รู้จักแพร่หลายและมีอายุยืนนาน ตลอดจนเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยช้างที่มีลักษณะเป็นมงคลตามตำราคชลักษณ์ จะเป็นสัตว์คู่พระบารมี และช้างยังเป็นพาหนะสำคัญในการศึกสงครามมาตลอด(จาก เอกสารเผยแพร่ ของ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ๒๕๔๘)



เล่าเรื่อง ช้าง สัญลักษณ์ชาติไทย ร่วมใจอนุรักษ์ก่อนสูญพันธุ์!
เล่าเรื่อง ช้าง สัญลักษณ์ชาติไทย ร่วมใจอนุรักษ์ก่อนสูญพันธุ์! (เดลินิวส์) หลายครั้งที่มีข่าว "ช้าง" ประสบอุบัติเหตุได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตทำให้รู้สึกสะเทือนใจอย่างยิ่ง และหากจะย้อนเหตุการณ์อันน่าสลดนี้กลับไปคงมีอีกหลายๆ ครั้งที่เรามักจะเห็นข่าวการสูญเสียช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น "พังกำไล" ที่ต้องสังเวยชีวิตจากอุบัติเหตุรถบรรทุกช้างเบรกแตกชนไหล่เขาจนได้รับบาดเจ็บสาหัสที่จังหวัดสระแก้ว ซึ่งแพทย์ไม่สามารถยื้อชีวิตไว้ได้ต้องจากไปอย่างน่าเวทนา วันเดียวกันกับที่พังกำไลประสบอุบัติเหตุเหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดของ "พลายสมใจ" อายุ 8 ปี น้อยกว่าพังกำไล 2 ปี เจ้าของไม่ได้ล่ามโซ่ไว้ ออกไปเดินหาอาหารกินในกองขยะ ด้วยความซุกซนจึงใช้งวงรื้อขยะหยิบยาฆ่าหญ้ามากินจนเสียชีวิตที่จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมามีเหตุร้ายเกิดขึ้นกับ "พลายพลุ"ลูกช้างวัย 3 ปี ตกท่อคอนกรีตเสริมเหล็กขณะควาญช้างพาเดินบนถนนทำให้ลูกช้างได้รับบาดเจ็บที่จังหวัดระยอง ล่าสุดควาญช้างพา "พังปวีณา" วัย 5 ปี เดินผ่านบริเวณที่มีการซ่อมผิวถนนไปเหยียบบริเวณที่มีไฟฟ้ารั่วถูกไฟช็อตตายอย่างอนาถ นี่เป็นเพียงสาเหตุส่วนหนึ่งที่พรากชีวิตช้างที่เป็นสัตว์ใหญ่ กล้าหาญ ทำงานหนักเพื่อบ้านเมืองเรามาตลอดตั้งแต่ครั้งโบราณกาล โดยในสมัยก่อนช้างเป็นสัตว์ที่ใช้ในการรบ ช้างศึกจึงเป็นของสำคัญของบ้านเมือง แต่ปัจจุบันนี้ "ช้างไทย" มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงและกำลัง เข้าสู่ภาวะสูญพันธุ์ ด้วยสาเหตุนานัปการ วรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสหกรรม จ.ลำปาง เล่าย้อนถึงบรรพบุรุษช้างว่า เริ่มจากเมื่อประมาณ 50 ล้านปีที่ผ่านมา โลกของเรามีบรรพบุรุษช้างเกิดขึ้นมาตัวแรกชื่อ โมเออริเทอเรียม (Moeriterium) ที่ทะเลสาบโมเออริส ประเทศอียิปต์ จึงตั้งชื่อตามสถานที่ที่ค้นพบ มีรูปร่างไม่เหมือนช้างในปัจจุบันแต่คล้าย ฮิปโปโปเตมัส ลำตัวยาว ขาสั้น สูงประมาณ 60 เซนติเมตร ไม่มีงวง ถึงแม้บรรพบุรุษช้างจะมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกับช้างในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง แต่สิ่งที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบแน่ชัดคือกะโหลกหัวมีโพรงอากาศเหมือนช้างรุ่นปัจจุบันและมีงาเล็กๆ งอกจากขากรรไกรล่าง หลังจากมีโมเออริเทอเรียมเกิดขึ้น สัตว์ในสกุลช้างได้ขยายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ต่างๆ มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันออกไปแต่ลักษณะสำคัญๆ เช่น กะโหลกและฟันยังคงอยู่ร่วมกัน ช้างโบราณบางสายพันธุ์มีงาสองคู่ คือ งอกจากทั้งขากรรไกรบนและล่าง ช้างยุคแรกมีถิ่นอยู่ในทวีปแอฟริกาจนกระทั่งประมาณ 26 ล้านปีก่อนลูกหลานของโมเออริเทอเรียมอพยพเคลื่อนย้ายไปยังดินแดนต่างๆ ทั่วโลกยกเว้นออสเตรเลียกับแอนตาร์ก จากนั้นบรรพบุรุษช้างได้พัฒนาสายพันธุ์แตกหน่อออกไปอย่างไม่หยุดยั้งนับร้อยสายพันธุ์ แต่บางสายพันธุ์ปรับตัวไม่ได้ก็ค่อยๆ สูญพันธุ์ไป บางสายพันธุ์ปรับตัวได้ก็อยู่ได้ จนกระทั่งประมาณ 10,000 ปี ที่ผ่านมาลูกหลานของบรรพบุรุษช้างเหลืออยู่ 2 สายพันธุ์ คือ ช้างแอฟริกา และช้างเอเชีย ช้างแอฟริกาที่สมบูรณ์เต็มที่จะสูงกว่าช้างเอเชียและมีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ส่วนช้างเอเชียมีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา ตัวผู้มีงายาวเรียก ช้างพลาย ถ้าไม่มีงาเรียก ช้างสีดอ ส่วนตัวเมียจะไม่มีงาเรียก ช้างพัง โดยช้างเอเชียแบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ย่อย ได้แก่ 1.ช้างสายพันธุ์สีลังกาหรืออินเดียใต้ 2.ช้างสายพันธุ์อินเดีย ซึ่ง ช้างไทยก็อยู่ในสายพันธุ์อินเดีย นี้รวมทั้งช้างพม่า ลาว เวียดนามด้วย 3.ช้างสายพันธุ์สุมาตรา และ 4.ช้างสายพันธุ์บอร์เนียว


ในอดีตประเทศไทยมีช้างเลี้ยงและช้างป่าประมาณ 100,000 เชือก ปัจจุบันจำนวนประชากรช้างไทยลดน้อยลงอย่างน่าใจหายเหลือเพียงประมาณ 5,000 กว่าเชือก แบ่งเป็นช้างป่าประมาณ 2,400 ตัว และช้างเลี้ยง ประมาณ 3,000 เชือก สาเหตุที่ช้างเลี้ยงลดน้อยลงเนื่องจากเจ้าของพาช้างแยกย้ายกันไปทำงาน ทำให้โอกาสที่ช้างตัวผู้และตัวเมียจะอยู่ใกล้ชิดและผสมพันธุ์กันมีน้อยมาก ซึ่งทางศูนย์พยายามใช้วิธีการผสมเทียม เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไว้ เพราะปัจจุบันพี่น้องช้างที่อยู่แวดวงใกล้เคียงกันมักมีปัญหาผสมพันธุ์กันเองทำให้เกิดพันธุ์ด้อย ที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จสามารถใช้น้ำเชื้อผสมเทียมได้ลูกช้างแล้ว ทำให้ลดปัญหาด้านสายพันธุ์หรือช้างตัวเมียมดลูกผิดปกติหรือไม่ยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์ ส่วนสาเหตุของช้างป่าของไทยที่ลดน้อยลง ก็เนื่องจากมนุษย์บุกรุกพื้นที่ป่ารวมทั้งลักลอบค้าช้างป่า ทำให้พื้นที่ป่าและแหล่งน้ำเหลือน้อยลง ส่งผลให้ช้างป่าไม่มีอาหารกินจึงอพยพไปอยู่ที่อื่น นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น ช้างเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้วจะใช้เวลาในการตั้งท้องนานถึง 19-22 เดือน กว่าจะได้ลูกช้างแต่ละเชือกนานมาก และช้างที่ถูกเจ้าของหรือควาญนำมาเร่ร่อนเกิดอุบัติเหตุบ้างอย่างที่เห็นเป็นข่าว บางเชือกเจ้าของไม่มีประสบการณ์เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่สามารถดูแลรักษาได้ ทำให้มีอัตราการตายมากกว่าการเกิด โดยจากสถิติพบว่า อัตราการตายของช้างไทยมีมากถึง 150 เชือกต่อปี ถือว่ามากกว่าอัตราการเกิดในแต่ละปี จึงทำให้ประชากรช้างเข้าสู่สภาวะใกล้สูญพันธุ์เต็มที ดังนั้นการดูแลรักษาช้างให้มีสุขภาพ และคุณภาพชีวิตที่ดีนั้น ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ บอกว่า "คนเลี้ยงช้าง" หรือ "ควาญช้าง" มีส่วนสำคัญต่อช้างมากที่สุด ทางสถาบันฯ จึงได้ร่วมกับมูลนิธิ เอเชียเฮ้าส์ประเทศเดนมาร์ก จัดทำโครงการฝึกอบรมควาญช้างในการดูแลช้างในประเทศไทยขึ้น โดยรุ่นแรกอบรมไปแล้ว เมื่อ วันที่ 9-11 สิงหาคม 2552 เพื่อให้ควาญช้างมีประสบการณ์ ความรู้เบื้องต้นในการเลี้ยงช้าง เช่น ช้างที่มีสุขภาพดีจะไม่ผอมไม่ซึม ต้องอ้วนท้วนสมบูรณ์หูและหาง พัดโบกแกว่งไกวตลอด หากมีอาการผิดปกติต้องรีบแจ้งแพทย์มาตรวจเพราะอาจจะเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้ยังอบรมในเรื่องของสถานะช้างไทย กฎหมายเกี่ยวกับช้าง และอื่นๆ ซึ่งควาญช้างที่อบรมแล้วจะมีความรู้สามารถนำไปถ่ายทอดฝึกสอนควาญช้างคนอื่นๆ ต่อไปได้เพื่อให้ช้างไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและในอนาคตข้างหน้าจะได้ไม่สูญพันธุ์ ช้างเป็นสัญลักษณ์ของชาติไทยและอยู่คู่บ้านเมืองเรามาโดยตลอด ยามศึกก็ช่วยรบจนสามารถกอบกู้เอกราชมาให้ประเทศได้ในหลายครั้ง หรือแม้กระทั่งยามบ้านเมืองสงบช้างก็ช่วยขนย้ายซุงหรือของหนักรวมทั้งเป็นพาหนะเพื่อแบ่งเบาภาระให้เราอีกมากมายมาหลายชั่วอายุคน ถึงเวลาแล้วที่เราจะช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ใหญ่ที่มีค่าของชาติให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยของเราสืบไป


ดอกไม้ประจำชาติ
คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ กำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ๓ สิ่งได้แก่ สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย (Chang Thai) ดอกไม้ประดับชาติ คือ ดอกราชพฤกษ์ (Ratchaphruek) สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ ศาลาไทย (Sala Thai)แม้ว่าคณะกรรมการฯ ได้กำหนดให้ดอกราชพฤกษ์ เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยแล้ว ก็ยังมีผู้เข้าใจผิดเกี่ยวกับลักษณะและการเรียกชื่อ ซึ่งมักสับสนกับพรรณไม้ในสกุลเดียวกันอย่าง ชัยพฤกษ์ กัลปพฤกษ์ กาฬพฤกษ์พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ บรรยายลักษณะของพรรณไม้ข้างต้นไว้ย่อ ๆ ดังนี้กัลปพฤกษ์ [กันละปะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia bakeriana Craib ในวงศ์ Leguminosae มีมากทางภาคอีสานและภาคเหนือ ดอกสีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อในระหว่างทิ้งใบหรือผลิใบใหม่ ฝักมีขนนุ่มกาฬพฤกษ์ น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cas sia grandis L.f. ในวงศ์ Leguminosae ลําต้นดํา ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นําเข้ามาปลูกชัยพฤกษ์ [ไชยะพฺรึก] น. ชื่อไม้ ต้นชนิด Cassia javanica L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีชมพูเข้ม เมื่อออกดอกไม่ทิ้งใบ ฝักเกลี้ยง ใช้ทํายาได้ราชพฤกษ์ [ราดชะพฺรึก] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia fistula L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีเหลือง ฝักสีดํา เกลี้ยง ใช้ทํายาได้, คูน หรือ ลมแล้ง ก็เรียก; ดอกไม้ประจำชาติด้วยชื่อที่มีความหมายโดดเด่นของราชพฤกษ์ ที่แปลว่า ต้นไม้ของพระราชา และเป็นไม้ยืนต้นที่มีดอกสีเหลืองอร่ามตา ดอกราชพฤกษ์ จึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ประจำชาติไทย

ที่มาของดอกไม้ประจำชาติไทย
เอกลักษณ์ประจำชาติของไทยอย่างหนึ่ง ที่แสดงถึงความสวยงาม ร่มเย็น คือ ดอกไม้ เดิมไม่มีการบันทึกแน่ชัดว่า เป็นดอกไม้ชนิดใดคือดอกไม้ประจำชาติไทยเพียงแต่ต่อพู ดกันต่อ ๆ มาว่า ดอกราชพฤกษ์หรือชัยพฤกษ์ น่าจะเป็นดอกไม้ประจำชาติไทย คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบและออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ๓ สิ่ง ลงนามโดยพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ คือ
ในเบื้องต้น กระทรวงเกษตร กรมป่าไม้ ได้จัดประชุมเรื่อง การกำหนดต้นไม้และสัตว์ประจำชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๐๖ เมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๐๖ และมีมติเป็นเอกฉันท์ให้กำหนดต้นราชพฤษ์หรือคูณ เป็นต้นไม้ประจำชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔ คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ร่วมกับ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมเรื่องการกำหนดเอกลักษณ์ประจำชาติไทยในเรื่ องดอกไม้ประจำชาติ
และได้ให้เหตุผลในการเลือกดอกราชพฤกษ์ (คูณ) Ratchaphruek (Cassia Fistula Linn.) เป็นดอกไม้ประจำชาติ เพื่อส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติไทย และเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้มีผลระยะยาว ด้วยเหตุผลตามผลสรุปของการศึกษา และรวบรวมข้อมูลของกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรว่า
ราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันแพร่หลาย สามารถขึ้นได้ทุกภาคของประเทศไทย
1 Have around Thailand.
ราชพฤกษ์ ใช้ประโยชน์ได้มากเช่นฝักเป็นสมุนไพร ที่มีค่ายิ่งในตำหรับแพทย์แผนโบราณและแก่นแข็งใช้ทำเ สาเรือนได้ดี
2 Use for Medicine,Furniture(Building house)
ราชพฤกษ์ มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทย เพราะเป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ แก่นไม้ชัยพฤษ์เคยใช้พิธีสำคัญ ๆ มาก่อนเช่น พิธีลงหลักเมืองใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำคธาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร นอกจากนี้อินทรธนูของข้าราชการพลเรือนก็จำลองจาก ช่อชัยพฤษ์เป็นเครื่องหมาย
3 Best tree,used in the palace celebration.
ราชพฤกษ์ มีอายุยืนนานและทนทาน
4 Tree is long live.
ราชพฤกษ์ มีทรวดทรงและพุ่มงามมีดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา

http://www.smart-today.com/board/home/space.php?uid=1&do=blog&id=133

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย


รบ.เผยภาพสัญลักษณ์ประจำชาติ

รัฐบาลชู 'ช้างไทย-ดอกคูณ-ศาลาไทย' เป็นสัญลักษณ์ สร้างความภูมิใจในความเป็นไทย
วันนี้(30 ก.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ครั้งที่ 2/2552 ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้จัดพิมพ์โปสเตอร์ภาพสัญลักษณ์ ประจำชาติไทย จำนวน 3 สิ่ง ได้แก่ สัตว์ประจำชาติ คือ “ช้างไทย” ดอกไม้ประจำชาติ คือ “ดอกราชพฤกษ์” (ดอกคูณ) สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ “ศาลาไทย” เพื่อเป็นการสร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทย สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาติ โดยใช้สื่อต่าง ๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศนอกจากนี้ ที่ประชุมรับทราบรายงานผลสำเร็จของการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสำนักงาน เสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ตามคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2552 โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ได้กำหนดดำเนินโครงการ/กิจกรรมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 16 โครงการ/กิจกรรม ประกอบด้วย 1. โครงการจัดพิมพ์ภาพโปสเตอร์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ 2. โครงการจัดทำสารคดีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติเนื่องในวันสำคัญของพระมหา กษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ 3. โครงการจัดพิมพ์หนังสือ King Bhumibol : Strength of the Land (ครั้งที่ 2) 4. โครงการจัดงานสัปดาห์ส่งเสริมศาสนาและจริยธรรมเฉลิม พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2551 5. โครงการจัดทำสมุดบันทึกประจำวันสำหรับนักบริหาร เพื่อเผยแพร่ภาพลักษณ์ของประเทศไทย 6. โครงการจัดทำสารคดีเกี่ยวกับเอกลักษณ์ไทย 7. โครงการจัดทำวารสารไทย 8. โครงการคัดเลือกและเผยแพร่ผลงานดีเด่นของชาติ 9. โครงการฝึกอบรมอาสาสมัครเอกลักษณ์ของชาติ 10. โครงการจัดปฐมนิเทศด้านเอกลักษณ์ของชาติแก่ผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านวิเทศ 11. โครงการคัดเลือกครอบครัว โรงเรียน ชุมชน หรือหมู่บ้านประชาธิปไตยตัวอย่าง 12. โครงการวิจัยหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของชาติ 13. โครงการจัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ. เอกลักษณ์ของชาติ พ.ศ. .... 14. โครงการจัดทำเอกสารและบทความสดุดีบุคคลสำคัญ 15. โครงการส่งเสริมคนดีศรีสังคม 16. โครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกับสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างเครือข่ายการเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ


สัญลักษณ์ประจำชาติไทย
ทราบกันหรือยังว่าประเทศไทยมีสัญลักษณ์ประจำชาติอย่างเป็นทางการแล้ว เป็นรูปช้าง ดอกคูน และศาลาไทย ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติได้นำเสนอสัญลักษณ์ทั้ง 3 นี้แก่คณะรัฐมนตรีแล้ว สาเหตุที่เลือกสัญลักษณ์ทั้ง 3 ประเภทนี้ เพราะ
1. ช้างไทย เป็นสัตว์ประจำชาติ มีอายุยืน เป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ประเพณี และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวไทยมานาน สมัยก่อนมีความหมายเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช้ในการศึกสงคราม ถือเป็นสัตว์คู่บุญบารมีของพระมหากษัตริย์ และครั้งหนึ่งช้างไทยเคยปรากฏอยู่บนธงชาติไทยด้วย
2. ต้นราชพฤกษ์หรือต้นคูน เป็นต้นไม้พื้นเมืองรู้จักกันแพร่หลาย มีทรวดทรงและพุ่มงาม มีดอกเหลืองอร่าม ถือเป็นต้นไม้ประจำชาติที่เรารับรู้กันมานาน แต่ไม่เคยได้รับการกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำชาติอย่างเป็นทางการ
3. ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมประจำชาติสะท้อนภูมิปัญญาของช่างไทย มีความสง่างามที่โดดเด่นจากชาติอื่น รวมทั้งเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้ชื่นชมความงามของศาลาไทย


เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย
คือสิ่งที่บ่งบอกความเป็นไทยได้อย่างดีที่สุดเพราะประเทศไทยนั้นได้ชือว่าเป็นประเทศ เอกลักษณ์เป็นของตัวเองชาติหนึ่งของโลก มีอักขระ ตัวอักษรที่เป็นเฉพาะของตัวเอง
พร้อมกับกระแต่งกายแบบฉบับไทย ที่มีรูปแบบลวดลายที่สวยงามอ่อนช้อย อีกทั้งการแต่งกายแบบฉบับไทยในสมัยปัจจุบัน ได้นำเอาไปประยุกต์ในแบบสากลจนเป็นที่โด่งดังไปทั่วในเรื่องความสวยงาม นอกจากความสวยงามที่ไม่เหมือนใครของเครื่องแต่งกายแล้วนั้น ความสวยที่สื่อออกมาจากตัวตนแห่งคนไทย ก็จะเป็น”การไหว้” ที่เป็นเอกลักษณ์ชาติเดียวใรโลกที่ไม่มีใครเหมือน เอกลักษณ์ของไทยนั้น ไม่ได้มีเพียงแค่การไว้ที่สวยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีสถาปัตยกรรม แบบไทยๆ ที่สามารถเห็นได้ตาม ศาสนสถาน(วัด) โบสถ์วิหาร ปราสาทพระราชวัง และอาคารบ้านทรงไทยอันสวยสดงดงาม เอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมและประเพณีที่เห็นเดนชัดก็คือการแสดงรำไทย ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยได้อย่างดี เอกลักษณ์ทางดนตรีไทยนั้นก็ไม่เป็นรองชาติใดในโลกเหมือนกัน ซึ่งสามารถขับขาน บรรเลงเสียงที่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ต้องมนต์สะกดของเสียงเพลงเลยทีเดียว เสน่ห์ของดนตรีไทยยังสามารถนำมาผสานรวม ร่วมกับดนตรีสากลเพิ่มความไพเราะไปอีกในรูปแบบหนึ่งอย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียว


เอกลักษณ์ไทย@สัญลักษณ์ของความเป็นไทย
“.........เอกลักษณ์ไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทยเราจงร่วมใจรักษาไว้ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราชและความสามัคคีของบรรพบุรุษไทย.........”
เอกลักษณ์ : เอกลักษณ์แห่งความเป็นไทย
เอกลักษณ์ของไทยใครรู้บ้าง อย่างให้จางจืดไปของไทยหนอ
ช่วยสืบสานตำนานวงศ์ว่านกอ ช่วยแตกหน่อแบบไทยให้เจริญ
มีภาษาของไทยใช้สื่อสาร เป็นพงศาวดารมานานเนิ่น
พ่อขุนรามคำแหงเก่งเหลือเกิน สร้างตัวเขินอักษรไทยใช้ต่อมา
อีกเสื้อผ้าอาภรณ์อันสวยสด ดูงามงดวิจิตรมิตรหรรษา
เป็นเครื่องทรงมีค่าอันโสภา เรียกกันว่าการแต่งกายของคนไทย
อีกทั้งการเคารพนบน้อมไหว้ เชื่อผู้ใหญ่มีน้ำใจสะอาดใส
กตัญญูกตเวทีและเกรงใจ ลืมไม่ได้คือการกราบซาบซึ้งทรวง
การวางตัวก็ดีที่สุภาพ อย่าให้สาบสูญไปใคร่แหนหวง
คำทักทายสวัสดีมีในดวง- จิตคิดห่วงสมบัติมรดกไทย
ศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ อย่าให้ขาดประเพณีวิถีในสากล
สถาปัตยกรรมแบบไทยไทย การแสดงก็วิไลในสากล
มีธงชาติของไทยประจำเมือง อันลือเลื่องกันไปทุกแห่งหน
เพลงชาติไทยร้องได้กันทุกคน ที่ใหญ่ล้นคือพระมหากษัตริย์ไทย
ที่ยกมาทั้งหมดจดจำด้วย ขอให้ช่วยสานต่อกันได้ไหม
หากเราทิ้งของดีบนถิ่นไทย คงสิ้นไปแน่แท้เอกลักษณ์เอย
จากคำประพันธ์ข้างต้น จะเห็นได้ว่า คนไทยมีเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทยอันทรงคุณค่า และน่าภาคภูมิใจในความเป็นไทย เราควรร่วมมือร่วมใจสืบสานให้อยู่คู่กับประเทศไทยต่อไป
หากเราไม่ช่วยกัน แล้วใครจะมาช่วยเรา หรือเราคนไทยจะรอให้ต่างชาติต่างภาษา เข้ามาครอบครองความเป็นไทยของเราที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนไว้หลายชั่วอายุคน หรือเราเป็นคนไทยสายพันธุ์ใหม่ ที่มีจิตใจไม่สาทกสะท้าน ในวัฒนธรรมของตนเองบ้างเลย หรือมั่วแต่ไปคลั่งไคล้กับวัฒนธรรมตะวันตก ที่โหมกระหน่ำมาดั่งสายน้ำที่ไหลเชี่ยวกราดที่ทับถมมาอยู่ตลอดเวลา จนลืมวัฒนธรรมอันดีงามของไทยเราไป
หากเป็นเช่นนี้แล้วละก็คนไทย และประเทศไทยของเรา คงสิ้นเอกลักษณ์ไทย อย่างแน่นอน.........


ที่มา http://news.mediathai.net/detail_news.php?newsid=57772
http://lib.vit.src.ku.ac.th/tip/tip48/texttip/ntip10.asp
http://www.ratburi.info/component/content/article/23-thai/26-2009-07-03-19-56-11.html

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

สัญลักษณ์ประจำชาติโดย รองศาสตราจารย์นฤมล ลี้ปิยะชาติ
ชื่อเรื่องในวันนี้ฟังแล้วก็เข้าใจได้ทันทีนะคะว่าเป็นเรื่องของสัญญลักษณ์ประจำชาติไทยของเรา ท่านผู้ฟังจะลองตอบดูไหมคะว่าสัญลักษณ์ประจำชาติไทยคืออะไร ท่านผู้ฟังบางท่านอาจจะตอบว่าเรือสุพรรณหงส์ บางท่านอาจจะตอบว่าวัดพระแก้ว ฯลฯ ต่อไปนี้เราคงต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันแล้วค่ะว่า สัญลักษณ์ประจำชาติไทยคือช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ และศาลาไทย ท่านผู้ฟังอาจจะกำลังสงสัยว่าทำไมต้องเลือก 3 สิ่งนี้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ สาเหตุที่เลือกช้างไทยด้วยเหตุผลที่ว่า กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตร ได้เคยมีมติในการประชุมเรื่องกำหนดต้นไม้และสัตว์ประจำชาติ เมื่อพ.ศ.๒๕๐๖ ว่าให้กำหนดช้างเผือกเป็นสัตว์ประจำชาติ เพราะช้างเผือกเป็นสัตว์ที่มีประวัติเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีของไทย รู้จักกันแพร่หลายและมีอายุยืนนาน รวมทั้งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอให้วันที่ ๑๓ มีนาคม เป็นวันช้างไทยด้วย ส่วนดอกราชพฤกษ์นั้น ก็เป็นมติของกรมป่าไม้ในปีเดียวกันที่กำหนดให้ดอกราชพฤกษ์เป็นดอกไม้ประจำชาติ เพราะเป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักกันแพร่หลาย สามารถขึ้นได้ทุกภาคในประเทศไทย มีทรวดทรงและพุ่มงาม ใช้ประโยชน์ได้มาก มีอายุยืนนาน และทนทาน มีประวัติเกี่ยวข้องกับประเพณีของชาวไทย เป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม และแก่นไม้ราชพฤกษ์ใช้ในพิธีสำคัญๆเช่น พิธีลงหลักเมือง ใช้เป็นเสาเอกในการก่อสร้างพระตำหนัก ทำคธาจอมพล และยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร และ เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา รวมทั้งสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้เคยเสนอโครงการส่งเสริมให้มีการปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศ จำนวน ๙๙,๙๙๙ ต้น เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๐ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๕ รอบ สำหรับศาลาไทยนั้น เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาช่างไทย และมีความสง่างามที่โดดเด่นจาก สถาปัตยกรรมชาติอื่น และเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย ตลอดจนส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสชื่นชมศาลาไทย นายกรัฐมนตรี(พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร)จึงลงนามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทยทั้งสามสิ่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๔ และให้คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้พิจารณาการออกแบบภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทยทั้ง ๓ สิ่ง โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรออกแบบภาพช้างไทย ส่วนภาพดอกราชพฤกษ์และภาพศาลาไทยได้จัดให้มีการประกวด และต่อมาเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๘ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติรับทราบภาพสัญลักษณ์ประจำชาติทั้ง ๓ สิ่ง ตามที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอมา สำหรับแนวคิดในการออกแบบและเลือกใช้สีของภาพสัญลักษณ์ที่ท่านผู้ฟังอาจจะได้พบเห็น มีดังนี้ ภาพช้างไทย ออกแบบโดยมีข้อกำหนดว่า เป็นช้างเผือก ขาก้าวเดิน มองดูสง่า มีงาใหญ่แข็งแรง มีลักษณะอวัยวะที่เป็นมงคล ๗ ประการคือ ๑.ตาสีขาว ๒.เพดานในปากขาว ๓.เล็บสีขาว ๔.ขนสีขาว ๕.พื้นหนังสีขาว หรือสีชมพูแดงคล้ายสีหม้อใหม่ ๖.ขนหางยาว ๗.อัณฑโกศขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ ภาพดอกราชพฤกษ์ นายสวาสดิ์ พูลสวัสดิ์ ผู้ออกแบบ ได้ให้แนวคิดในการออกแบบว่า ออกแบบเป็นภาพดอกราชพฤกษ์ช่อ แสดงให้เห็นลักษณะของดอกช่อที่ชัดเจน มีทั้งดอกตูม บาน ตามกาลเวลาของดอกที่เป็นจริงตามธรรมชาติที่บานไม่พร้อมกัน โดยเริ่มบานตั้งแต่ดอกแรกของโคนช่อไปจนสุดปลายช่อดอก มีใบแสดงให้เห็นบ้างเล็กน้อย ภาพศาลาไทย นายพงศกร ยิ้มสวัสดิ์ ผู้ออกแบบ ได้ให้แนวความคิดในการออกแบบภาพว่า เลือกใช้รูปแบบศาลาไทยในลักษณะงานสถาปัตยกรรมไทย ประเภทเรือนเครื่องสับ มีความสง่างาม และเป็นรูปสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความมีไมตรีจิตและความปรารถนาดีอย่างจริงใจต่อผู้อื่น ใช้สีน้ำตาลกับโครงสร้างของเรือนไม้ ส่วนหลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาใช้สีน้ำตาลส้ม และมีส่วนปูนปั้นทาสีขาว พื้นหลังเป็นสีเขียว แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และความเป็นประเทศเกษตรกรรมของชาติไทย ส่วนฉากหลังเป็นสีฟ้า แสดงถึงท้องฟ้าที่สดใส และแสดงถึงความสดชื่นเบิกบาน ต่อไปนี้เราคงตอบได้ถูกต้องตรงกันนะคะว่าสัญลักษณ์ประจำชาติไทยคืออะไร และท่านผู้ฟังคงจะรู้สึกภูมิใจกับเอกลักษณ์และความเป็นไทยของเราร่วมกัน

เกร็ดพรรณไม้
ต้นไม้...ดอกไม้...ประจำชาติไทย

จากอดีตที่ผ่านมากว่า 50 ปี ทางราชการมีความพยายามหลายครั้งในการกำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย โดยเฉพาะการกำหนด ต้นไม้ และ ดอกไม้ ประจำชาติ เริ่มต้นที่กรมป่าไม้ได้ชักชวนให้ประชาชนสนใจต้นราชพฤกษ์หรือคูณมาตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ.2494 โดยรัฐบาลมีมติให้ถือวันที่ 24 มิถุนายน เป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ (arbour day) มีการชักชวนให้ปลูกต้นไม้ที่มีประโยชน์ชนิดต่างๆ มากมาย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเสนอว่า ต้นรา
ชพฤกษ์ น่าจะถือเป็นต้นไม้ประจำชาติ
กระทั่งในปี พ.ศ.2506 มีการประชุมเพื่อกำหนดสัญลักษณ์ต้นไม้และสัตว์ประจำชาติเป็นครั้งแรก โดยกรมป่าไม้ได้เสนอให้ ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูณ ไม้มงคลที่มีประโยชน์และรู้จักกันอย่างแพร่หลายเป็นต้นไม้ประจำชาติ สำหรับสัตว์ประจำชาติก็คือ ช้างเผือก สัตว์ที่มีคุณค่าเกี่ยวข้องกับประเพณีไทยและประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน การเสนอครั้งนั้นไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการ ดังนั้นตลอดเวลาที่ผ่านมาสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยจึงมีหลากหลาย ตั้งแต่สถานที่สำคัญๆ สัตว์ ดอกไม้ ที่คนไทยคุ้นเคยและพบเห็นบ่อย เช่น พระปรางค์วัดอรุณฯ เรือสุพรรณหงส์ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกพุทธรักษา แมวไทย เช่นเดียวกับ ต้นราชพฤกษ์ และ ช้างเผือก ยังคงถูกยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติตลอดมา
ปี พ.ศ.2530 มีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์อีกครั้ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ โดยมีการส่งเสริมให้ปลูกต้นราชพฤกษ์ทั่วประเทศจำนวน 99,999 ต้น ทุกวันนี้จึงมีต้นราชพฤกษ์อยู่มากมายทั่วประเทศไทย
ข้อสรุปเรื่องสัญลักษณ์ประจำชาติดูเหมือนจะยังไม่ชัดเจน กระทั่งช่วงปี พ.ศ.2544 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ได้นำเรื่องดังกล่าวกลับมาเสนออีกครั้ง และมีข้อสรุปเสนอให้มีการกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติ 3 สิ่งคือ ดอกไม้ สัตว์และสถาปัตยกรรม และการพิจารณาที่ผ่านมาเสนอให้กำหนดดอกไม้ประจำชาติคือ ดอกราชพฤกษ์ สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย และสถาปัตยกรรมประจำชาติคือ ศาลาไทย
เหตุที่เลือก ดอกราชพฤกษ์ เป็นดอกไม้ประจำชาติเพราะมีความเหมาะสมในหลายๆ ด้าน คือ เป็นดอกไม้จากต้นไม้ที่ถูกเสนอให้เป็นต้นไม้ประจำชาติเมื่อครั้งที่กรมป่าไม้เสนอไว้ เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืน ทนทาน ปลูกขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศ เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย มีชื่อเรียกหลายชื่อต่างกันในแต่ละภาค เช่น ลมแล้ง คูน อ้อดิบ ราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลใช้ประโยชน์ในพิธีสำคัญๆ เช่น ลงหลักเมือง ลงเสาเอก ทำคฑาจอมพลและยอดธงชัยเฉลิมพลของกองทหาร ในช่วงฤดูร้อนราชพฤกษ์จะออกดอกสะพรั่งทั้งต้น ช่อดอกมีรูปทรงสวยงาม สีเหลืองอร่ามเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ รวมทั้งเป็นสีเดียวกับวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ นอกจากนี้ความงามของช่อดอก และความหมายที่ดียังถูกจำลองแบบประดับไว้บนอินทรธนูของข้าราชการพลเรือนอีกด้วย

3 สิ่งใหม่.....สัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ในเวทีโลก

เคยเปิดอ่านหนังสือพิมพ์เจอสัญลักษณ์ใหม่ประเทศเราที่รัฐบาลเขาทำใหม่ แต่ก็นั่นแหละ.......ลืมไปเลย ว่าแล้วก็เหมาะเหม็งเมื่อวานไปอ่านเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร ตามที่กำลังดังอยู่ในกระแสการเมืองไทยในทุกวันนี้ ร้อน ๆ หนาว ๆ ไปตาม ๆ กัน เปิดไปเปิดมาก็เจอเข้าจัง ๆ จนได้ ที่เว็ปธรรมะไทย ใครว่าง ๆ ก็ไปอ่านดู ความภูมิใจเล็ก ๆ ของเด็กแนว (แนวธรรมมะ รักชาติ)

ความว่า โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2544 ว่า คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ การกำหนดสัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) 3 สิ่ง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ ซึ่งจะเป็นการ ช่วยประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศ