ภาพสัญลักษณ์ของไทย

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย
สัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ..3 สิ่ง


นายยงยุทธ ติยะไพรัช โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี .แถลงผลการประชุมคณะ
รัฐมนตรี ในวันที่ 2 ตุลาคม 2544 ว่า คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ การกำหนด
สัญลักษณ์ประจำชาติไทย (Nation Identity) ..3 สิ่ง ตามที่รองนายกรัฐมนตรี
(นายปองพล อดิเรกสาร) ประธานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติเสนอ
ซึ่งจะเป็นการ ช่วยประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทย ดังนี้

1. สัตว์ประจำชาติไทย คือ "ช้างไทย" Chang Thai (Elephant หรือ Elephas Maximas)
2. ดอกไม้ประจำชาติ คือ "ดอกราชพฤกษ์" (คูน) Ratchapruek (Cassiafistula Linn.X
3. สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ "ศาลาไทย" Sala Thai (Pavilion)

ทั้งนี้ .เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ การกำหนด
สัญลักษณ์ประจำชาติ ไทย (Nation Identity) และการส่งเสริมสัญลักษณ์ประจำชาติ
ไทย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ส่งเสริม ภาพลักษณ์ประเทศไทยให้มีผล
ระยะยาว .....ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลแล้ว จึง
กำหนดให้มีสัญลักษณ์ประจำชาติไทย 3 สิ่งดังกล่าว ตามที่กระทรวงต่างประเทศเสนอ

สำหรับภาพลักษณ์สัตว์ประจำชาติ "ช้างไทย" .....ทางกรมศิลปากรได้ออกแบบ.....
และคณะกรรมการ เอกลักษณ์ของชาติ ได้พิจารณาเห็นชอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว.
และเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตื่นตัว และจะได้เห็นความหลากหลาย ..
ทางคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติจะจัดให้มีการประกวดภาพ 3 สิ่งสร้างภาพ
ลักษณ์ "ดอกราชพฤกษ์" ดอกไม้ประจำชาติและสถาปัตยกรรมประจะชาติ ......
จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการ ประกวดภาพเพื่อให้ประชาชนได้ทีส่วนร่วมในการ
คัดเลือกรูปแบบสัญลักษณ์ประจำชาติต่อไป

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 ก.พ. 2548 รับทราบเรื่องการกำหนดสัญลักษณ์ประจำ
ชาติไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายก
รัฐมนตรีเสนอมา โดยกำหนดให้สัตว์ประจำชาติ คือ ช้างไทย ดอกไม้ประจำชาติ คือ
ดอกราชพฤกษ์ หรือดอกคูน สถาปัตยกรรมประจำชาติ คือ ศาลาไทย ซึ่งคณะกรรมการ
เอกลักษณ์ของชาติพิจารณาการออกแบบภาพสัญลักษณ์ประจำชาติไทย ทั้ง 3 สิ่ง
มาตั้งแต่ปลายปี 2544 โดยมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบภาพช้างไทย
ส่วนภาพดอกราชพฤกษ์และภาพศาลาไทยได้จากการประกวดการออบแบบ แต่มี
การทบทวนและปรับปรุงแก้ไขภาพหลายครั้ง และคณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบภาพ
เอกลักษณ์ประจำชาติไทยทั้ง 3 สิ่ง ในการประชุมคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
พวกเราคงทราบกันดีแล้วว่า สัตว์ ดอกไม้ และสถาปัตยกรรม ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ คือ “ช้างไทย” หรือ “Chang Thai” (Elephant) ดอกราชพฤกษ์ หรือ Ratchaphruek (Cassia fistula Linn) และ “ศาลาไทย” หรือ “Sala Thai” (Pavilion)
แต่บางท่านอาจยังมีไม่ทราบเหตุผลที่คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ลงมติเลือก ช้างไทย ดอกราชพฤกษ์ และศาลาไทย เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ
ช้างเผือกเป็นสัตว์ที่มีความผูกพันเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และประเพณีไทยมายาวนาน อีกทั้งช้างไทยเป็นที่รู้จักแพร่หลายในสังคมโลก ดังนั้น เพื่อกระตุ้นสังคมไทยให้ระลึกถึงช้าง สัตว์คู่บ้านคู่เมืองและคู่ป่า ทางราชการจึงกำหนดให้วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันช้างไทย (ภาพช้างเผือกบนพื้นแดง เป็นรูปของธงชาติสยาม ปี พ.ศ.2398-2459)[*]
ส่วนดอกราชพฤกษ์ หรือ คูน เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่รู้จักแพร่หลาย มีในทุกภาค ใช้ประโยชน์ได้สารพัด เช่น ฝักเป็นสมุนไพรในตำรับแพทย์แผนโบราณ แก่นแข็งใช้ทำเสาเรือน เป็นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนามและอาถรรพ์ แก่นไม้เคยใช้ในพิธีสำคัญ ๆ มาก่อน เช่น พิธีลงหลักเมือง เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนนานและทนทาน มีทรวดทรงและพุ่มงาน ดอกเหลืองอร่ามเต็มต้น เป็นสัญลักษณ์แห่งพุทธศาสนา
สำหรับศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาช่างไทย มีความสง่างามที่โดดเด่นจากสถาปัตยกรรมชาติอื่น จึงสมควรที่จะรักษาเอกลักษณ์และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้มีโอกาสชื่นชมศาลาไทย

สัญลักษณ์ประจำชาติไทย ทราบกันหรือยังคะว่าประเทศไทยมีสัญลักษณ์ประจำชาติอย่างเป็นทางการแล้ว เป็นรูปช้าง ดอกคูน และศาลาไทย ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์แห่งชาติได้นำเสนอสัญลักษณ์ทั้ง 3 นี้แก่คณะรัฐมนตรีแล้ว สาเหตุที่เลือกสัญลักษณ์ทั้ง 3 ประเภทนี้ เพราะ

1. ช้างไทย เป็นสัตว์ประจำชาติ มีอายุยืน เป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ประเพณี และเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตชาวไทยมานาน สมัยก่อนมีความหมายเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ใช้ในการศึกสงคราม ถือเป็นสัตว์คู่บุญบารมีของพระมหากษัตริย์ และครั้งหนึ่งช้างไทยเคยปรากฏอยู่บนธงชาติไทยด้วย

2. ต้นราชพฤกษ์หรือต้นคูน เป็น ต้นไม้พื้นเมืองรู้จักกันแพร่หลาย มีทรวดทรงและพุ่มงาม มีดอกเหลืองอร่าม ถือเป็นต้นไม้ประจำชาติที่เรารับรู้กันมานาน แต่ไม่เคยได้รับการกำหนดให้เป็นต้นไม้ประจำชาติอย่างเป็นทางการ

3. ศาลาไทย เป็นสถาปัตยกรรมประจำ ชาติสะท้อนภูมิปัญญาของช่างไทย มีความสง่างามที่โดดเด่นจากชาติอื่น รวมทั้งเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทย และส่งเสริมให้ชาวต่างชาติได้ชื่นชมความงามของศาลาไทย ต่อไปนี้เวลาชาวต่างชาติถามว่าบ้านเมืองของเราใช้สัญลักษณ์อะไร ก็ตอบได้อย่างเต็มภาคภูมิแล้วค่ะ


ที่มา http://www.baanmaha.com/community/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-10249/
http://www.oeadc.org/oea/e04e38e22e01e31e1a-e2de17e28/e2ae31e0de25e31e01e29e13e4ce1be23e30e08e0ae32e15e34e44e17e22http://www.watcharina.com/board/index.php?topic=1819.0